
ไหมข้าวโพด เกสรข้าวโพด หรือหนวดข้าวโพด
ไหมข้าวโพดดูไร้ค่าและถูกโยนทิ้งเป็นประจำนั้น ความจริงแล้วมันมีประโยชน์มากมาย รู้แล้วรีบบอกต่อด่วนเลย หลายๆ คนคงชอบทานข้าวโพดและชอบนำข้าวโพดมาต้มกินเอง
เกสรข้าวโพด สมุนไพรเป็นยาที่มีประโยชน์มาก เวลาปอกเปลือกทิ้งก็เก็บนำมาต้มดื่มบ้างนะคะ ต้มได้ทั้งเกสรสดและแห้ง หรือใช้วิธีชงเป็นชาดื่มแบบง่ายได้เช่นกัน
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรต้มดื่มตามที่กำหนดนะคะ ไม่ควรต้มดื่มมากต่อครั้งหรือต่อวัน เพราะต้องระวังเรื่องไตหรือโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นด้วย ความเข้มข้นของสมุนไพรที่ต้มดื่มต้องระวังมากๆ ดื่มแต่พอดีแต่ดื่มสม่ำเสมอก็จะได้ผลดี
หรือเป็นผู้ป่วยไม่ใช่คนร่างกายปกตินั้นต้องระวังเช่นกัน ดื่มให้ถูกวิธีนั่นเอง การต้มทั้งฝักกินเมล็ดหรือเป็นเมนูอาหารก็ได้ประโยชน์มากๆ เช่นกัน
เส้นไหมข้าวโพดจะเป็นเส้นบางๆ คล้ายเส้นไหม มันจะยาวยื่นพ้นออกมาตรงปลายฝักข้าวโพด คอยรับละอองเกสรตัวผู้เพื่อผสม มีรสออกหวาน มีสารอาหารมากมาย และมีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะและลดบวม ยังสามารถช่วยลดความอ้วนได้ด้วย
ดังนั้นเวลาคุณนำข้าวโพดมาต้มกิน อย่าทิ้งไหมข้าวโพดนะ เพราะมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมหาศาล เพราะว่าเส้นไหมข้าวโพดช่วยขับปัสสาวะและลดบวมได้ และสำหรับคนที่คิดจะลดความอ้วน ลองนำมาทำเป็นชา
อาจใช้เส้นไหมข้าวโพดประมาณหนึ่งหยิบมือใส่ลงในแก้วแล้วเทน้ำร้อนลงไป ทิ้งไว้จนสีออกเหลืองทองก็ดื่มได้ แล้วดื่มไปนานๆ รับรองน้ำหนักของคุณต้องลดลงอย่างแน่นอน หรืออีกวิธีคือการทำน้ำต้มไหมข้าวโพด
จากการศึกษาพบว่า น้ำต้มเส้นไหมข้าวโพดมีสารอาหารมากมาย ในหมู่ยาจีนที่ใช้ขับปัสสาวะและน้ำดีจะมียาไม่กี่ตัวที่มีฤทธิ์เป็นกลางไม่ร้อนไม่เย็น
เส้นไหมข้าวโพดจึงเป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้ดีซ่านและโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดีได้ทุกประเภท ออกฤทธิ์ไม่รุนแรงเกินไป ที่สำคัญไหมข้าวโพดเป็นยาที่เราไม่ต้องซื้อซึ่งปกติเราโยนมันทิ้งด้วยซ้ำไป
ประโยชน์ของน้ำต้มเส้นไหมข้าวโพด
– มีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะซึ่งจะช่วยให้ล้างสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดและระบบทางเดินปัสสาวะที่ติดไวรัส
– หากใครมีอาการโรคไตอักเสบเรื้อรัง ให้นำเส้นไหมข้าวโพดแห้งมาต้มกับน้ำแล้วดื่มวันละครั้ง จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเส้นไหมข้าวโพดมีส่วนช่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรังได้
– มันไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกายในเวลาไม่สบาย แถมยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย
– เส้นไหมข้าวโพดมีเส้นใยอาหารสูง สามารถป้องกันกระเพาะอาหารและกระตุ้นการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และช่วยระบบเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น
– มีวิตามินเคซึ่งจะช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บมันจะช่วยให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มและป้องกันการสูญเสียเลือด
– ควบคุมน้ำตาลในเลือด จากการศึกษาที่ผ่านมา เส้นไหมข้าวโพดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวแทนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มันจะเพิ่มระดับอินซูลินและช่วยในการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายในตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน
– ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต เส้นไหมข้าวโพดได้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันนิ่วในไตมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิ่วในไตจะเกิดขึ้นจากการสะสมของผลึกเล็กๆในไตซึ่งจะช่วยในการไหลของปัสสาวะอย่างเหมาะสมและช่วยป้องกันการสะสมของผลึก
วิธีทำน้ำเกสรข้าวโพด
1. เกสรข้าวโพดดึงออกมาจากฝักทั้งหมด ที่เตรียมต้มแต่ละครั้ง
2. ล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นฝอยสั้นๆ
3. น้ำใส่หม้อพอประมาณกับเกสรข้าวโพดที่จะต้มแต่ละครั้ง นำเกสรที่หั่นไว้ใส่ลงเคี่ยวในน้ำเดือดเบาๆ ประมาณ 30 นาที
4. หากใส่เกสรมากน้ำจะมีสีเหลืองเข้ม ถ้าใส่เกสรน้อยน้ำจะสีเหลืองอ่อน การเพิ่มความหวานด้วยใบหญ้าหวานหรือน้ำตาลทรายแล้วแต่ผู้ดื่ม ไม่ใส่ความหวานก็ดื่มได้ง่ายเพราะรสจืดหอม
5. พอเย็นกรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่แก้วดื่มได้เลย ชอบเย็นก็แข่เย็นก่อนเพิ่มความชื่นใจ (ที่ต้องกรองด้วยผ้าขาวบางเพราะหั่นฝอยหากกรองด้วยตะแกรงเกสรก็จะรอดได้ แต่ถ้าไม่หั่นฝอยก็กรองตะแกรงได้)
วิธีใช้ลดน้ำตาลในเลือด
– ยอดดอกข้าวโพด 100 กรัม นำมาต้มดื่มน้ำเช้าเย็น
– หรือ ฝอยข้าวโพด 1 กรัม นำมาต้มดื่มน้ำเช้าเย็น
ประเทศที่ทำการทดลองวิจัยว่า ลดน้ำตาลในเลือดได้ คือ
ประเทศเยอรมันใ ช้สารเข็มข้นจากดอกข้าวโพดในปี ค.ศ 1943
ประเทศอิสราเอล ใช้สารสกัดเข็มข้นจากฝอยข้าวโพด ลดน้ำตาลในเลือดได้ ในปีค.ศ 1963
ประเทศญี่ปุ่น สารสกัดจากข้าวโพดในน้ำเข็มข้น 100 mg/kg
วิธีใช้ลดไขมันในเลือด
– ยอดดอกข้าวโพด 100 กรัม น้ำมาต้มน้ำดื่มเช้า เย็น
– เมล็ดข้าวโพด นำมาปรุงอาหาร
– ฝอยข้าวโพด 1 กรัม นำมาต้มดื่มเช้า เย็น
– น้ำมันข้าวโพด นำมาปรุงอาหาร
ประเทศที่ทำการทดลองวิจัยว่าข้าวโพดลดไขมันในเลือดได้ คือ
ประเทศไทย ค.ศ 2006 ประเทศจีน 2005 และ 2006 ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ 1988 และ 1989
(ขอบคุณ ข้าวโพด ฯ จากหนังสือ สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด สมุนไพรลดไขมันในเลือด รวบรวมเรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)
สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน
แหล่งที่มา : nfc-skn.org, กานดา แสนมณี