
สูตรชาตะไคร้ใบเตยแก้โรคเก๊าต์ ทำกินเองได้ที่บ้าน
วันนี้มีข้อมูลดีๆ จากเพจหมอบ้านบ้านมาฝากค่ะ เป็นสูตรชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าต์ วิธีทำก็ไม่ยากอะไรเลย เดี๋ยวเราไปดูกันเลยว่าวิธีทำต้องทำยังไงแล้วใช้อะไรบ้าง
ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่าโรคเก๊าต์คืออะไร
โรคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ
มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย)
นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ
การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้
หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิด เพื่อให้การป้องกันในระยะยาว
จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น “โรคของราชา” หรือ “โรคของคนรวย”
สูตรชาตะไคร้ใบเตยแก้โรคเก๊าต์
1. ตะไคร้สด 4-5 ต้น
2. ใบเตยสด 2-3 ใบ
3. น้ำสะอาด 2 ลิตร
วิธีการทำ
1. ต้มสมุนไพรจนเดือด พอเดือดลดไฟลง
2. ต้มต่ออีก 15 นาที ห้ามเปิดฝาโดยเด็ดขาด
3. ครบ 15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น
4. ดื่มแทนน้ำเปล่าติดต่อกัน 1 สัปดาห์ จะล้างกรดยูริคในเลือด สาเหตุของอาการปวดเข่าจากโรคเก๊าต์ได้ดีมากๆ แบบไม่ต้องใช้ยา
สูตรนี้ได้รับการยืนยันจากคนไข้เองว่า ได้ผลดีเกินคาด!
ชาตะไคร้ใบเตยยังช่วยในการลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ลดไขมันในเส้นเลือด รสเย็นสบาย บำรุงหัวใจ ให้กลิ่นหอม สดชื่น
**ผลข้างเคียง คือ ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง
สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน
แหล่งที่มา: หมอบ้านบ้าน