
ผมร่วงแก้ได้ง่ายๆ
พอดีเราผมร่วงเมื่อปีที่แล้วหายาหาหมอมาทั่วก็แค่ดีขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ไม่หายผมม้างี้ด้านหน้าเราบางเชียว แต่จู่ๆ เราก็ได้พบพี่ผู้หญิงคนนึงเค้ามาจากทางภาคอีสานเราไปร้านสระผมเจอกันโดยบังเอิญ
ผมของพี่เค้าดกดำมากเราเลยถามว่าทำไมผมดกจังทั้งที่เค้าอายุก็ไม่ใช่น้อยๆ แล้ว 50 แล้วมั้งแต่ผมเธอดกมากๆ พี่เค้าเล่าว่าเอายอดตำลึงที่ขึ้นตามรั้วบ้านนี่แหละหรือซื้อมาจากตลาดก็ได้
เอามาล้างให้สะอาด จากนั้นเอามาเด็ดใบและยอดอ่อน-ก้านอ่อนใส่กาละมัง แล้วขยี้ๆ หรือจะใส่ครกโขลกๆ หรือจะปั่นก็ได้ คั้นเอาแต่น้ำข้นๆ ไม่ต้องมีอะไรอย่างอื่นมาใส่อีก
แล้วเอาน้ำข้นๆ ของตำลึงนั่นแหละมาหมักผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วสระออก ทำอย่างนี้อาทิตย์ละสองสามครั้งทำไปเรื่อยๆ พอเดือนหนึ่งผมจะเริ่มขึ้นดกดำเลย และผมเก่าก็ไม่ร่วงอีกด้วยรากผมแข็งแรงขึ้นเยอะมากๆ
เราก็เลยลองดูค่ะตอนนี้ผมที่ร่วงๆ อยู่ ดีขึ้นจริงๆ ค่ะ ไม่ได้โม้ ลองดูก็ไม่ได้เสียหายนะคะ
ตำลึง
ตำลึง ชื่อสามัญ Ivy gourd
ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cephalandra indica (Wight & Arn.) Naudin) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง
ตำลึง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรี, โปรตีน, ใยอาหาร 1 กรัม, เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU, วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, วิตามินซี 34 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม, ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เป็นต้น
มีงานวิจัยหลายงานที่ชี้ว่า ตำลึงช่วยรักษาโรคเบาหวานได้จริง โดยมีผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด !
ประโยชน์ของตำลึง
1. ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้
2. ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก (ยอดตำลึง)
3. ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (ไก่ที่ถูกยุงกัดจนตาบวม เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา) อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ (ขนาดเท่านิ้วก้อย) มาตัดเป็นท่อน ๆ (ตัดข้อทิ้ง) แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี (เถา)
4. ประโยชน์ของผักตำลึง นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น (ยอด, ใบ)
5. ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน (ผล)
คำแนะนำ : ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
แหล่งที่มา : แพรไหมปรายฟ้า, medthai.com