
สูตรสมุนไพรล้างไต ขับปัสสาวะ
ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย
และจะเกิดอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก หรือบางรายอาจจะปัสสาวะออกมาเป็นเลือดก็ว่าได้
ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการกินอาหารรสจัด หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารมันๆ เป็นประจำ
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการดูแลและรักษาสุขภาพไตของเราให้ดีอยู่เสมอ โดยสมุนไพรพื้นบ้านที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ จากหมอสมุนไพรชาวบ้าน
ซึ่งคุณบุญมี ผิงทอง หมอสมุนไพรชาวบ้านประจำตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสูตรสมุนไพรบำรุงไต ขับปัสสาวะผ่านทางทีมงาน farmer info รายการทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.พิษณุโลก ไว้ดังนี้
สมุนไพรที่ต้องใช้ (วิธีทำด้านล่าง)
1. กระชาย 1 ขีด
สรรพคุณกระชาย
– ช่วยบำรุงตับ ไต แข็งแรง
– ช่วยฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง
– ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบา
– ช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัยเล็บมือ เล็บเท้า แข็งแร
– ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตให้พอดี ไม่ให้สูงมากหรือต่ำมากเกินไป
– ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต้นสม่ำเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น
– ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ซึ่งอยู่ในร่างกายทุกคน ไม่ว่าผู้หญิงหรือชาย
2. หอมแดง 1 ขีด
สรรพคุณของหอมแดง
– ช่องปาก : การเคี้ยวหอมแดงสดบางๆ 3-8 นาทีทุกวัน จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากหมดไป
– ต่อมเอ็นโดครัยน์(ต่อมไร้ท่อ) : หอมแดงจะช่วยเร่งการทำงานของต่อมไทรอยด์และตับอ่อน ยิ่งกว่านั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพในการหลั่งสารเคมีในร่างกายที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ
– ทางเดินหายใจ : ผักชนิดนี้มีประสิทธิภาพช่วยลดอาการไอที่ก่อให้เกิดเสมหะ และยังช่วยรักษาอาการเสียงแหบ ไข้หวัดเจ็บคอ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ และโรคหอบหืด
– ลำไส้ : หอมแดงช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อลำไส้ ป้องกันและบรรเทาอาการอักเสบของลำไส้
– ทางเดินอาหาร : หอมแดงเพิ่มความอยากอาหาร และ ช่วยควบคุมกระบวนการทำงานของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ช่วยลดปัญหาท้องผูกและท้องอืด
– ไต : ธรรมชาติวิเศษของไตคือ จะช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย และหอมแดงยังช่วยในการดูแลรักษาไต และลดปัญหาของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและต่อมลูกหมาก
– กระดูกและข้อต่อ : หอมสีแดงช่วยเร่งในการขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย และ ยังช่วยในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ(รูมาตอยด์) และโรคเกาต์
3. ข่า 1 ขีด
สรรพคุณของข่า
– ใช้ทาแก้โรคผิวหนังประเภทกลากและเกลื้อน
– ผสมกับเหล้าโรงทาเพื่อแก้อาการลมพิษ
– ช่วยขับลม ลดอาการท้องอืดเฟ้อหรือจุกเสียดแน่น
– สารบางชนิดในข่า เป็นสารยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง
– ข่ามีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
– ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น เนื่องจากข่ามีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดที่ช่วยให้หายใจสะดวก
– ช่วยลดอาการไอ เจ็บคอและลดเสมหะ
– ช่วย detox สารพิษตกค้างในระบบทางเดินอาหาร
– ข่ามีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องร่วงและอาการปวดมวนในท้องเนื่องจากลมในกระเพาะ
– ช่วยลดอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้าและช่วยลดการเกิดตะคริว
4. ตะไคร้ 1 ขีด
สรรพคุณของตะไคร้
– หัวตะไคร้ ประโยชน์หัวของตะไคร้ เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ทราง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ส่วนใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ได้
– รากตะไคร้ ประโยชน์รากของตะไคร้ สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้เหนื่อย แก้ปวดปวดท้องและท้องเสีย
– ต้นตะไคร้ ประโยชน์ต้นของตะไคร้ ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้ผมแตก แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ต้นของตะไคร้เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะช่วยแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวต่างๆได้อีกด้วย
5. ใบมะกรูด 1 ขีด
สรรพคุณของใบมะกรูด
– น้ำมะกรูดและใบมะกรูดใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้ และยังใช้ประกอบอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น ต้มยำ ผัดเผ็ด แกงเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง เป็นต้น
– น้ำมันหอมระเหยของมะกรูดช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย การสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยลดความเครียด คลายความกังวล ช่วยให้จิตใจสงบนิ่ง แต่ไม่ควรใช้ที่ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้
– สรรรคุณของมะกรูดช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ให้ใช้ผิวมะกรูด ไพล รากชะเอม ขมิ้นอ้อย เฉียงพร้า ปริมาณเท่าๆ กัน นำมาบดเป็นผง ชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
6. ใบมะนาว 1 ขีด
สรรพคุณของใบมะนาว
– ช่วยบำรุงสายตาของคนเราให้มีความสดใสอยู่ตลอดเวลา
– ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความเปล่งปลั่งและสดใสอยู่สม่ำเสมอ
– มีน้ำมันระเหยที่ช่วยให้ความสดชื่นแก่ร่งกาย
– สามารถนำน้ำมันระเหยที่ได้ประมาณ 7% ในมะนาว 1 ลูกมาผสมเป็นน้ำยาทำความสะอาดได้
– มะนาวเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ช่วยในการกัด ถือเป็นกรดผลไม้ชนิดหนึ่งหรือที่เรียกว่า AHA ที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นกรด- ที่ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมได้
– นำมาปรุงรสชาติในอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างอร่อย และไม่ทำให้อาหารจานนั้นรู้สึกเลี่ยนได้
– ช่วยแก้ปัญหาขาลายที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ รวมทั้งปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ ด้วยการนำมะนาวมาผสมเข้ากับดินสอพอง จากนั้นนำมาทาทิ้งไว้ก่อนนอน ตื่นเช้าขึ้นมาค่อยล้างออกให้สะอาด
7. ใบสาระแหน่ 1 ขีด
สรรพคุณของสะระแหน่
– ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น ช่วยในการบำรุงสายตา ช่วยลดอาการตึงเครียดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยในการขับเหงื่อ ดับพิษร้อน เนื่องจากสะระแหน่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
– ช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง ใช้รักษาอาการปวดหัว ปวดไมเกรน รักษาอาการวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใช้รักษาอาการไอ เป็นหวัดคัดจมูกหรือมีน้ำมูกไหล ใช้รักษาอาการโรคหอบหืด ใช้รักษาอาการของโรคหลอดลมอักเสบ
– ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ช่วยระงับกลิ่นปากให้หอมสดชื่น รักษาอาการปวดหู รักษาอาการเกิดเป็นแผลในช่องปาก ช่วยทำให้เลือดกำเดาหยุดไหล ช่วยในการไล่ยุง
– ใช้รักษาอาการปวดที่ท้อง ท้องร่วง อาการปวดท้องเนื่องจากบิด รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยทำให้ลมในลำไส้สะอาดและช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น ป้องกันลำไส้หดเกร็ง ใช้รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด ใช้รักษาโรคไทรอยด์
– ใช้รักษาอาการเนื่องจากถูกพิษของพวกแมลงสัตว์กัดต่อย มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเชื้อโรค อีกทั้งยังสามารถนำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะ
วิธีการทำ
1. นำสมุนไพรทั้ง 7 ชนิดมาล้างให้สะอาด
2. ใส่ลงไปในหม้อ เติมน้ำให้ท่วม ต้มให้เดือด
3. จากนั้นนำมาดื่มให้หมดใน 1 มื้อ อัตราการใช้ 1 หม้อต่อ 1 วัน
***ไม่ควรนำกลับมาต้มซ้ำควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์จะเห็นผลจากปัสสาวะดีมาก
สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน
แหล่งที่มา: farmer info รายการทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.พิษณุโลก, postsod.com