
ยาแอสไพรินสามารถดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินอาหาร (หรือแม้แต่ดูดซึมเข้าทางผิวหนังโดยใช้ในรูปของยาทา) หลังการรับประทานยา ปริมาณยาในกระแสเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 ชั่วโมง และยาจะถูกทำลายที่ตับและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
ยาแอสไพรินเป็นยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ ข้อห้ามใช้ และมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก การใช้ยานี้จะต้องใช้อย่างระมัดระวังและได้รับคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าการใส่ยาแอสไพรินลงในเครื่องซักผ้าจะสร้างปาฏิหาริย์ให้กับคุณ!
นี่คือเคล็ดลับที่น่าทึ่งมากยาแอสไพรินสามารถใช้แทนน้ำยาฟอกขาวได้เป็นอย่างดีเพราะมันจะช่วยให้เสื้อผ้าขาวสะอาดมาก สามารถขจัดคราบเหลืองใต้แขนเสื้อได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังดับกลิ่นที่ติดเสื้อผ้าได้อีกด้วย
มาดูขั้นตอนว่าทำอย่างไร?
ใช้ยาแอสไพริน 300 มิลลิกรัมใส่ลงในน้ำร้อนประมาณ 2 แกลลอนและนำเสื้อผ้าของคุณลงไปแช่ในส่วนผสมนี้ตลอดคืน จากนั้นให้คุณใส่ยาแอสไพรินลงไปในเครื่องซักผ้าอีก 2-3 เม็ด และนำเสื้อผ้าลงไปซักตามปกติ
หรือคุณจะนำยาแอสไฟริน 2-3 เม็ดใส่ลงในแก้วน้ำเพื่อรอยาละลายหรือใส่ถุงและบดให้ละเอียด จากนั้นนำไปโรยหรือเทส่วนผสมบนรอยเปื้อนและทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
บรรดาผู้ที่เคยใช้เคล็ดลับนี้ต่างบอกว่ามันมีประสิทธิภาพดีกว่าสารฟอกขาวต่างๆ ที่เคยใช้มา อีกทั้งยังไม่สร้างความเสียหายให้กับเสื้อผ้าอีกด้วย เมื่อคุณทำตามเคล็บลับนี้คุณจะประหลาดใจกับผลลัพธ์ที่ได้แน่นอน!
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแอสไพริน
ยาแอสไพรินจะมีกลไกการออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบที่มีชื่อว่าไซโคลออกซีเจเนส (Cyclooxygenase) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ค็อกซ์ (COX) นอกจากนี้ เอนไซม์ค็อกซ์ (COX enzyme) ยังไปกระตุ้นการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่มีชื่อว่า ทร็อมบ็อกเซน-เอทู (Thromboxane-A2)
ดังนั้นผลที่ได้จากการใช้ยาแอสไพริน นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ยากมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งขนาดยาที่สูงของแอสไพริน (ครั้งละ 375-650 มิลลิกรัม) จะได้ผลดีในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ส่วนขนาดยาที่ต่ำของแอสไพริน (วันละ 75-150 มิลลิกรัม) จะได้ผลดีในแง่ฤทธิ์การต้านเกล็ดเลือด
การเก็บรักษายาแอสไพริน
– ควรเก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดให้สนิท และเก็บยาให้พ้นมือเด็กเสมอ
– ควรเก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บยาให้พ้นแสงแดดและความร้อน ไม่ให้อยู่ในที่มีอุณหภูมิร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น เช่น ในห้องน้ำ เพราะความร้อนหรือความชื้นอาจเป็นสาเหตุทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้
– ให้ทิ้งยาที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพแล้ว เช่น ยามีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
เมื่อลืมรับประทานยาแอสไพริน
หากลืมรับประทานยาแอสไพริน ให้รับประทานยาในทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าหรือมากกว่าปกติ
ผลข้างเคียงของยาแอสไพริน
– ผลข้างเคียงของยาแอสไพรินที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้อาเจียน ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคแผลเพ็ปติก (แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น) กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำได้ (ผลข้างเคียงนี้จะพบบ่อยขึ้นในผู้ใช้ยาที่มีอายุมาก)
– ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เกิดภาวะกรดไหลย้อน ปวดแสบยอดอก อาหารไม่ย่อย จุกเสียดท้อง ปวดท้อง เบื่ออาหาร ตับอักเสบ มีไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง เป็นต้น
– อาจทำให้โรคภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ หวัดภูมิแพ้ กำเริบได้
– อาจทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการเป็นลมพิษ ผื่นคัน บวมที่ตา ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือช่องคอ หายใจลำบาก หอบหืด หรือภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
– อาจทำให้เกิดภาวะช็อกจากปฏิกิริยาอะนาไฟแล็กทอยด์ (Anaphylactoid reaction) ในผู้ที่ใช้ยานี้เป็นครั้งแรก
– การใช้ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ซึ่งรวมถึงยาแอสไพริน (Aspirin) จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน และยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย
– ถ้าใช้ยาในขนาดสูง อาจทำให้เกิดอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหูได้
– ถ้ารับประทานยานี้เกินขนาดมาก ๆ เช่น เด็ก 4 กรัม ผู้ใหญ่ 20-25 กรัม อาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) และเป็นอันตรายได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: jarm.com, medthai.com
เรียบเรียงโดย: samunpaisecrete.com